31 กรกฎาคม วันผู้พิทักษ์ป่าโลก (World Ranger Day)#greenlibrary

31 กรกฎาคม วันผู้พิทักษ์ป่าโลก

วันผู้พิทักษ์ป่าโลก

31 กรกฎาคม วันผู้พิทักษ์ป่าโลก (World Ranger Day)#greenlibrary

31 กรกฎาคม วันผู้พิทักษ์ป่าโลก
(World Ranger Day)

วันที่เราทุกคนระลึกถึงผู้พิทักษ์ป่า ที่อุทิศตนทำงานอย่างเสียสละในการดูแลปกป้องผืนป่าสัตว์ป่า จนบางครั้งอาจได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตลง ขณะปฏิบัติหน้าที่ และเพื่อแสดงความยินดีร่วมกับผู้พิทักษ์ป่าที่สามารถยืนหยัดปกป้องทรัพยากรทางธรรมชาติและมรดกทางวัฒนธรรมของโลกไว้ได้ โดยที่มาของวันผู้พิทักษ์ป่าโลกเริ่มต้นขึ้นจากการประชุม World Congress Ranger ปี 2006 ที่สกอตแลนด์ ผู้เข้าร่วมประชุมจาก International Federation Ranger (IRF) หรือสมาพันธ์ผู้พิทักษ์ป่าระหว่างประเทศ ซึ่งก่อตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนการทำงานของผู้พิทักษ์ป่า ผู้เป็นกำลังสำคัญในการทำหน้าที่ปกป้องพื้นที่คุ้มครองของโลก ได้ลงมติให้วันที่ 31 กรกฎาคมของทุกปี (เริ่มต้นในปี 2007) เป็นวันผู้พิทักษ์ป่าโลก ซึ่งจัดขึ้นครั้งแรกในวาระครบรอบปีที่ 15 ของการก่อตั้ง IRF (วันที่ 31 กรกฎาคม 1992)

“เราไม่สามารถนำพวกเขาเหล่านั้นกลับมาได้ แต่เราสามารถแสดงความเคารพและไม่ลืมเลือนความเสียสละของพวกเขา” คือคำกล่าวจากสมาพันธ์ผู้พิทักษ์ป่าระหว่างประเทศ อันเป็นปฐมบทของวันผู้พิทักษ์ป่าโลก

มูลนิธิสืบนาคะเสถียร ขอร่วมระลึกถึงการทำงานของผู้พิทักษ์ป่า และเป็นกำลังใจให้ผู้พิทักษ์ป่า กลุ่มคนผู้เป็นเเนวหน้าในการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ และสัตว์ป่า ให้กับพวกเราคนไทยทุกคน

และจะยังคงมุ่งมั่นที่สนับสนุนการทำงานของผู้พิทักษ์ป่า ในรูปแบบต่างๆ พร้อมผลักดันงานด้านสวัสดิภาพเเละสวัสดิการให้ดียิ่งขึ้นในอนาคต ซึ่งนอกจากมูลนิธิสืบนาคะเสถียรเเล้ว ยังมีเครือข่าย กลุ่ม องค์กรอนุรักษ์จากภาคส่วนต่างๆ ที่ยังคงให้ความสำคัญ เเละสนับสนุนผู้พิทักษ์ป่าอยู่เสมอมา โดยช่วงที่ผ่านมาได้เราได้รวบรวมข้อความถึงผู้พิทักษ์ป่าบางส่วน และทยอยเผยเเพร่ไปแล้วทั้งช่องทางเฟซบุ๊กสมาคมผู้พิทักษ์ป่า เเละเฟซบุ๊กมูลนิธิสืบนาคะเสถียร

(เกศรินทร์ เจริญรักษ์, 2564)

เกศรินทร์ เจริญรักษ์. (2564). 10 สาส์น “วันผู้พิทักษ์ป่าโลก”. สืบค้น24 พฤษภาคม 2566. https://www.seub.or.th/forestrenger/club_forestrenger/10-world-ranger-day-2021/

#GreenLibrary  #greenbsru 

29 กรกฎาคม วันอนุรักษ์เสือโคร่งโลก (Global Tiger Day)#greenlibrary

29 กรกฎาคม วันอนุรักษ์เสือโคร่งโลก

วันอนุรักษ์เสือโคร่งโลก

29 กรกฎาคม วันอนุรักษ์เสือโคร่งโลก (Global Tiger Day)#greenlibrary

29 กรกฎาคม วันอนุรักษ์เสือโคร่งโลก
(Global Tiger Day)

เสือโคร่ง (Panthera tigris) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม อยู่ในอันดับสัตว์กินเนื้อ (Carnivora) ในวงศ์ Felidae เสือโคร่งจัดเป็นเสือชนิดที่ใหญ่ที่สุด และเป็นสัตว์กินเนื้อที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในไทยอีกด้วย

เสือโคร่งมีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศคือ เป็นผู้ล่าอันดับสูงสุดของระบบนิเวศ และเป็นหนึ่งใน Keystone species ที่คอยควบคุมประชากรสัตว์กินพืช (Herbivore) ไม่ให้ประชากรของสัตว์กินพืชที่เป็นเหยื่อมีมากเกินไป รวมถึงสัตว์ผู้ล่าขนาดกลางและขนาดเล็ก เพื่อรักษาสมดุลในระบบนิเวศป่า การมีอยู่ของเสือโคร่งจึงถือเป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าและระบบนิเวศได้เป็นอย่างดี

และช่วงครึ่งทศวรรษที่ผ่านมา เสือโคร่งในผืนป่าของไทยมีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการทำงานอย่างหนักของเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า ที่นำเอาระบบการลาดตระเวนเชิงคุณภาพ (Smart patrol) เข้ามาใช้ โดยพบเสือโคร่งมากที่สุดในบริเวณผืนป่าตะวันตก ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้ง จึงเป็นแหล่งอนุรักษ์เสือโคร่งที่สำคัญของประเทศไทย

ถ้ารวมผืนป่าตลอดแนวด้านตะวันตกของไทยเข้ากับป่าตามแนวชายแดนของพม่า จะทำให้พื้นที่นี้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของเสือโคร่งมากเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากอินเดีย

ถึงแม้ว่าในไทยแนวโน้มของประชากรเสือโคร่งจะเพิ่มมากขึ้น แต่ปัจจุบันเสือโคร่งอินโดจีน (Panthera tigris corbetti) ยังอยู่ในสถานะภาพใกล้สูญพันธุ์ (Endangered) ของ IUCN รวมถึงอนุสัญญา CITES กำหนดให้เสือโคร่งอยู่ในบัญชีที่ 1 คือห้ามทำการค้าโดยเด็ดขาด ซึ่งภัยคุกคามที่สำคัญของเสือโคร่ง ล้วนเกิดจากน้ำมือมนุษย์ทั้งสิ้น ทั้งการทำลายหรือเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าที่เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของเสือโคร่ง การล่าเพื่อการค้า การซื้อขายครอบครอง รวมถึงการล่าสัตว์ป่าที่เป็นเหยื่อของเสือโคร่งอีกด้วย

วันที่ 29 กรกฎาคมของทุกๆ ปี จึงกำหนดให้เป็น ‘วันอนุรักษ์เสือโคร่งโลก’ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของเสือในระบบนิเวศ และสร้างความตะหนักถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรเสือโคร่งและถิ่นที่อยู่อาศัย โดยวันอนุรักษ์เสือโคร่งถูกกำหนดขึ้นจากการประชุมว่าด้วยเรื่องเสือโคร่ง (Tiger Summit) ในปี พ.ศ. 2553 ณ เมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก

ภัสราภรณ์ ล้อประกานต์สิทธิ์. (2565). 29 กรกฎาคมของทุกปี เป็นวันอนุรักษ์เสือโคร่งโลก (Global Tiger Day).

สืบค้น 24 พฤษภาคม 2566. https://www.seub.or.th/bloging/knowledge/global-tiger-day-2022/

#GreenLibrary  #greenbsru 

กิจกรรม 5 ส #greenlibrary

กิจกรรม 5 ส สำหรับพื้นที่ส่วนรวม

กิจกรรม 5 ส สำหรับพื้นที่ส่วนรวมชั้น 1 และ ชั้น 6

กิจกรรม 5 ส #greenlibrary
กิจกรรม 5 ส #greenlibrary
กิจกรรม 5 ส #greenlibrary
กิจกรรม 5 ส #greenlibrary
กิจกรรม 5 ส #greenlibrary
กิจกรรม 5 ส #greenlibrary
กิจกรรม 5 ส #greenlibrary
กิจกรรม 5 ส #greenlibrary
กิจกรรม 5 ส #greenlibrary
กิจกรรม 5 ส #greenlibrary
กิจกรรม 5 ส #greenlibrary
กิจกรรม 5 ส #greenlibrary
กิจกรรม 5 ส #greenlibrary
กิจกรรม 5 ส สำหรับพื้นที่ส่วนรวม ชั้น 1 และ ชั้น 6
—-

วันที่ 29-30 มิถุนายน 2566 

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

กิจกรรม 5 ส สำหรับพื้นที่ส่วนรวม

โดยกำหนดให้บุคลากรทุกคนและแม่บ้านมีส่วนรวมในการดำเนินการกิจกรรม 5 ส
ในพื้นที่ส่วนรวมชั้น 1 และ ชั้น 6 ตามเกณฑ์ 5 ส ของสำนักวิทยบริการฯ

– กิจกรรมในครั้งนี้ ต้องการกระตุ้นให้บุคลากรตระหนักถึง 5 ส. ได้แก่ การสะสาง สะดวก สะอาด สร้างนิสัย และสุขลักษณะ
– เพื่อให้สถานที่ปฏิบัติงานน่าอยู่ น่าทำงาน มีความสะอาด เป็นระเบียบ และเป็นการสร้างจิตสำนึก ความมีระเบียบวินัย ที่ก่อให้เกิดสุขลักษณะที่ดี 

ศึกษาดูงานห้องสมุดสีเขียว #greenlibrary

ศึกษาดูงานห้องสมุดสีเขียว ณ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา

ศึกษาดูงานห้องสมุดสีเขียว

ศึกษาดูงานห้องสมุดสีเขียว #greenlibrary
ศึกษาดูงานห้องสมุดสีเขียว #greenlibrary
ศึกษาดูงานห้องสมุดสีเขียว #greenlibrary
ศึกษาดูงานห้องสมุดสีเขียว #greenlibrary
ศึกษาดูงานห้องสมุดสีเขียว #greenlibrary
ศึกษาดูงานห้องสมุดสีเขียว #greenlibrary
ศึกษาดูงานห้องสมุดสีเขียว #greenlibrary
ศึกษาดูงานห้องสมุดสีเขียว #greenlibrary
ศึกษาดูงานห้องสมุดสีเขียว #greenlibrary
ศึกษาดูงานห้องสมุดสีเขียว #greenlibrary
ศึกษาดูงานห้องสมุดสีเขียว #greenlibrary
ศึกษาดูงานห้องสมุดสีเขียว #greenlibrary
ศึกษาดูงานห้องสมุดสีเขียว #greenlibrary
ศึกษาดูงานห้องสมุดสีเขียว #greenlibrary
ศึกษาดูงานห้องสมุดสีเขียว #greenlibrary
ศึกษาดูงานห้องสมุดสีเขียว #greenlibrary
ศึกษาดูงานห้องสมุดสีเขียว ณ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา
—-

วันที่ 16 มิถุนายน 2566 

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
โดยคณะผู้บริหาร ผู้ทรงคุณวุฒิและบุคลากร สำนักวิทยบริการฯ
เข้าศึกษาดูงานห้องสมุดสีเขียว ณ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา

วิทยากรบรรยายโดย คุณนิตยา ปานเพชร รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารและวางแผนพัฒนาสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา

โดยดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการบริหารจัดการห้องสมุดสีเขียวตามเกณฑ์มาตรฐานทั้ง 8 หมวด ระหว่าง สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา และสำนักวิทยบริการฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

นอกจากนี้ยังได้เยี่ยมชมผลการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียวภายในสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยบูรพา

เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการพัฒนา greenlibrary ของสำนักวิทยบริการฯ ต่อไป

โครงการบริการวิชาการ : การจัดการแหล่งเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน #greenlibrary

โครงการบริการวิชาการ

การจัดการแหล่งเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน

โครงการบริการวิชาการ : การจัดการแหล่งเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน #greenlibrary
โครงการบริการวิชาการ : การจัดการแหล่งเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน #greenlibrary
โครงการบริการวิชาการ : การจัดการแหล่งเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน #greenlibrary
โครงการบริการวิชาการ : การจัดการแหล่งเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน #greenlibrary
โครงการบริการวิชาการ : การจัดการแหล่งเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน #greenlibrary
โครงการบริการวิชาการ : การจัดการแหล่งเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน #greenlibrary
โครงการบริการวิชาการ : การจัดการแหล่งเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน #greenlibrary
โครงการบริการวิชาการ : การจัดการแหล่งเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน #greenlibrary
โครงการบริการวิชาการ : การจัดการแหล่งเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน #greenlibrary
โครงการบริการวิชาการ : การจัดการแหล่งเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน #greenlibrary
โครงการบริการวิชาการ : การจัดการแหล่งเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน #greenlibrary
โครงการบริการวิชาการ : การจัดการแหล่งเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน #greenlibrary
โครงการบริการวิชาการ : การจัดการแหล่งเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน #greenlibrary
โครงการบริการวิชาการ : การจัดการแหล่งเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน #greenlibrary
โครงการบริการวิชาการ : การจัดการแหล่งเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน #greenlibrary
โครงการบริการวิชาการ : การจัดการแหล่งเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน #greenlibrary
โครงการบริการวิชาการ : การจัดการแหล่งเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
—-

วันที่ 12-13 มิถุนายน 2566 

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ร่วมกับสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ สาขาวิชาการจัดการวิศวกรรมการผลิตและโลจิสติกส์
และสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 

จัดโครงการบริการวิชาการ : การจัดการแหล่งเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในห้องสมุด ซึ่งเป็นโครงการบริการทางวิชาการสู่สังคมและท้องถิ่น โดยจัดให้แก่ โรงเรียนวัดบุคคโล เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร

โดยมีรายละเอียดดังนี้
๑. กิจกรรมเพื่อเป็นการสนับสนุนทักษะในการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศในระบบห้องสมุดโรงเรียน
๒. การจัดมุมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานงานและสิ่งแวดล้อม
๓. กิจกรรมส่งเสริมการอ่านการเล่านิทาน
๔. กิจกรรมส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม 3 กิจกรรมย่อย ได้แก่

กิจกรรมที่ ๑ : ผลิตภัณฑ์เปลือกไข่อัดเม็ดบำรุงดิน

กิจกรรมที่ ๒ : สิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้

กิจกรรมที่ ๓ : DIY สมุดโน้ต

พร้อมทั้งปรับปรุงห้องสมุดโรงเรียนซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนที่เอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูและนักเรียนในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้อย่างเหมาะสม และเพื่อเสริมสร้างแหล่งเรียนรู้ให้แก่โรงเรียน ชุมชน และท้องถิ่น อันจะนำไปสู่ความเข้มแข็งของสังคมและประเทศชาติ